Monday, 4 June 2007

Who's Who Credits in Production Team

Who's Who Credits in Production Team

Executive Producer
ProducerDirector
Writer
Cinematographer
Art Director
Editor
Associate Producer
Stunt Coordinator
Production Manager
Unit Production Manager
Line Producer
Assistant Director
Second Assistant Director
Continuity Person
Camera Operator
Assistant Cameraman
Film Loader
Steadicam Operator
Production Sound Mixer
Boom Operator
Gaffer
Key Grip
Dolly Grip
Best Boy
Foley Artist
ADR
Editor
Music Mixer
Visual Effects Director
FX Coordinator
Post-Production Supervisor
Matte Artist
Location Manager
Property Master
LeadmanSet Designer
Set Dresser
Costume Designer
Costumer
Make-up Artist
Body Make-up Artist
Hairdresser
Dialogue Coach
Production Office Coordinator
Production Assistant
Unit Publicist
Second Unit Director
Production Caterer
Craft Services
Transportation Coordinator
Negative Cutter
Color Timer
Background
Day Player
Story Editor

...Executive Producer = บางครั้งก็เรียกว่าผู้ควบคุมงานสร้างแหละค่ะ แต่จะเป็นโปรดิวเซอร์ในด้านเงินทุน จะเหนือกว่า Producer ค่ะ ก็ประมาณว่าเป็นคนให้ตังค์ทำหนังนั่นเอง

...Producer = เรียกว่า ผู้ควบคุมงานสร้าง เหมือนกัน ก็เป็นเหมือนตัวกลางระหว่างผู้กำกับกับนายทุนอะค่ะ คอยดูแลควบคุมการถ่ายทำให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย คุยกับนายทุนให้เข้าใจสิ่งที่ทางกองถ่ายจำเป็นต้องใช้ ต้องมี แต่ก็ต้องคอยควบคุมดูแลไม่ให้ผู้กำกับออกนอกลู่นอกทาง หรือว่าใช้งบประมาณมากจนเกินไป บางครั้งโปรดิวเซอร์ก็ต้องลงไปดูแลถึงในกองถ่ายด้วยค่ะ เรียกว่าควบคุมผู้กำกับอีกที แต่ต้องให้อิสระผู้กำกับในแง่ของความคิดสร้างสรรค์นะคะ ไม่ไปจำกัดหรือทำให้ผู้กำกับทำงานลำบากมากขึ้น

...Director = ก็คือ ผู้กำกับภาพยนตร์นั่นแหละค่ะ เป็นผู้กำกับควบคุมทิศทางของกองถ่ายทั้งหมด ทั้งในแง่ของการแสดง และงานเบื้องหลังอื่น ๆ หน้าที่หลักของผู้กำกับก็คือคิดเพื่อเล่าเรื่องค่ะ และต้องรับรู้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในกองถ่ายเพื่อคอยแก้ไขด้วย ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญที่ผู้ช่วยฯ ตัดสินใจเองไม่ได้ ผู้กำกับจะเป็นคนที่ตัดสินใจ ชี้ขาดว่าจะทำอย่างไรค่ะ

...Writer = ก็น่าจะหมายถึงคนเขียนบทภาพยนตร์นะคะ

...Cinematographer = ผู้กำกับภาพ ก็คือ ตากล้องที่ทำหน้าที่ถ่ายภาพนั่นแหละค่ะ แต่ว่าไม่ได้ทำหน้าที่ถ่ายทำตามคำสั่งของผู้กำกับอย่างเดียวนะคะ ผู้กำกับภาพจะได้รับการถ่ายทอดมาจากผู้กำกับว่าต้องการอารมณ์แบบไหน เล่าเรื่องยังไง แล้วผู้กำกับภาพก็จะมาคิดวิธีการถ่าย ออกแบบช็อต ออกแบบภาพที่จะออกมาผ่านเฟรม แล้วก็เอาไปเสนอผู้กำกับว่าจะถ่ายแบบนี้นะ ภาพประมาณนี้นะ โอเคมั้ย ผู้กำกับก็ตัดสินใจว่าจะเอาไม่เอา นอกจากนี้ ผู้กำกับภาพต้องคอยดูแลเรื่องการจัดแสงด้วยค่ะ เพราะนอกจากการจัดองค์ประกอบภาพแล้ว การจัดแสงก็จะช่วยในการสื่อสารอารมณ์ของภาพด้วย เพราะฉะนั้นผู้กำกับภาพต้องรู้เทคนิคต่าง ๆ มากมาย เพื่อจะสร้างสรรค์ภาพให้สามารถสื่อสารได้ดังใจผู้กำกับค่ะ

...Art Director = ก็คือ ผู้กำกับศิลป์ ก็คือ ออกแบบ สร้างสรรค์งานสร้างทั้งหลายที่เราเห็นอยู่ในหนังแหละค่ะ ไม่ว่าจะเป็นงานทางด้านการสร้างฉาก อุปกรณ์ประกอบฉาก หรือที่เรียกว่า Prop การแต่งกายของนักแสดง องค์ประกอบภาพที่จะออกมาในเฟรม ทั้งหมดนี้ ผู้กำกับศิลป์ ต้องดูแลและสร้างสรรค์งานทั้งหมดให้ออกมาตามที่ผู้กำกับต้องการค่ะ เพราะว่างานศิปล์ในการสร้างหนังนั้น ทั้งฉาก Prop เสื้อผ้า และอื่น ๆ ต้องออกมากลมกลืนและเป็นหนึ่งเดียวกัน เสื้อผ้าจะโดดจากฉากไม่ได้ เพราะฉะนั้น ต้องมีผู้กำกับศิลป์คอยกำกับดูแลทั้งหมดนี้ให้เป็นกลมกลืน สวยงาม และตรงตามโจทย์ที่ผู้กำกับกำหนดค่ะ

...Editor = ก็คือผู้ที่ทำหน้าที่ตัดต่อภาพค่ะ ทำหน้าที่นำภาพจากฟิล์มที่ถ่ายทำมา มาร้อยเรียงให้เป็นภาพยนตร์ ตามบทภาพยนตร์หรือ Storyboard ที่มีอยู่ แต่ใช่ว่าผู้ตัดต่อจะต้องตัดต่อตามบทเป๊ะ ๆ นะคะ ผู้ตัดต่อสามารถใส่เทคนิคต่าง ๆ หรือว่าเสนอวิธีการเล่าเรื่องที่แตกต่างไปได้ แต่ต้องเล่าในสิ่งที่ผู้กำกับต้องการนำเสนอค่ะ แต่ถึงแม้จะเล่าเรื่องให้ตรงตามบทภาพยนตร์ แต่ผู้ตัดต่อภาพก็ต้องรู้วิธีการเล่าเรื่องให้มีความต่อเนื่อง รู้จังหวะว่าจังหวะไหนที่ควรจะตัดภาพนี้ เปลี่ยนไปอีกภาพหนึ่ง ไม่ให้สะดุด ก็ยากมาก ๆ เหมือนกันค่ะ

...Stunt Coordinator = ก็ประมาณว่าควบคุมดูแลเรื่องสตั๊นท์แหละค่ะ พูดง่าย ๆ ก็อาจจะประมาณพี่พันนา ฤทธิไกร ในต้มยำกุ้ง แต่ทีนี้พี่พันนาเค้าเหนือกว่า Stunt Coordinator ตรงที่เค้ากำกับคิวบู๊ ออกแบบคิวบู๊ ด้วย ถือว่าเป็น Martial Coreographer ค่ะ (สะกดถูกรึเปล่าไม่แน่ใจนะคะ)

http://www.imdb.com/Glossary/ ช่วยท่านได้ตัวอย่าง : Click ที่ตัวอักษร E หาคำว่า Executive ProducerA producer who is not involved in any technical aspects of the filmmaking process, but who is still responsible for the overall production. Typically an executive producer handles business and legal issues. See also associate producer, co-producer, line producer


...Production Manager = ผู้จัดการกองถ่าย ก็คือ คนที่คอยดูแลประสานงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการต่าง ๆ ในกองถ่าย เช่น นัดหมายนักแสดง จัดการเรื่องสวัสดิการในกองถ่าย การเงิน คือ เรียกได้ว่า ทุก ๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ การประสานงานในกองถ่าย คุณผู้จัดการคนนี้ต้องดูแลค่ะ อย่างทีมงานจะต้องขึ้นรถที่ไหน กี่โมง ใครขึ้นรถคันไหน ไปถึงแล้วจะกินข้าวที่ไหน แต่งหน้าทำผมตรงไหน ถ้าต้องมีการย้ายสถานที่ถ่ายทำก็ต้องคอยดูแลจัดการเรื่องการขึ้นรถ การเคลียร์สถานที่ถ่ายทำเดิมที่เสร็จแล้วด้วย ถ้าในกองถ่ายขาดอะไร ต้องการอะไร ก็ต้องหามาให้ได้ รวมทั้งดูเรื่องเวลาการถ่ายทำด้วยว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้ไหม ว่าวันนี้จะเลิก 6 โมงเย็น แต่ยังไม่เสร็จเลย อาจเลื่อนไปถึงเที่ยงคืน เลื่อนได้ไหม สถานที่มีปัญหาไหม งบจะบานปลายมากไปหรือเปล่า เรียกได้ว่าดูแลการถ่ายทำให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย และคอยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยค่ะ งานยิบย่อยมาก ๆ

...Assistant Director/Second Assistant Director = ผู้ช่วยผู้กำกับ ก็ตามตำแหน่งเลยค่ะ ทำหน้าที่ช่วยผู้กำกับทุกด้าน โดยปกติก็จะแบ่งเป็น ผู้ช่วยผู้กำกับ 1, ผู้ช่วยผู้กำกับ 2, ผู้ช่วยผู้กำกับ 3 (อาจมีแค่ 1 คน หรือ 3 คนก็ได้ แล้วแต่กองค่ะ) ทำหน้าที่คอยจัดการให้สิ่งที่ผู้กำกับต้องการนั้นออกมาเป็นรูปเป็นร่างได้ ถ้าในขั้นเตรียมงานก่อนวันถ่ายทำ ผู้ช่วยผู้กำกับก็จะช่วยในด้านการคัดเลือกนักแสดง การจัดให้นักแสดงมาซ้อม มาลองเสื้อผ้า จัดตารางเวลาการถ่ายทำ ดูแลและตามงานในฝ่ายต่าง ๆ ให้กับผู้กำกับ เช่น งานด้านฉาก Prop เสื้อผ้า สถานที่ถ่ายทำ พอมาถึงในกองถ่าย ก็ต้องคอยประสานงานในฝ่ายต่าง ๆ ขณะที่ทำการถ่ายทำ เช่น ดูแลเรื่องการแต่งตัวแต่งหน้านักแสดงให้เป็นไปตามกำหนดการและตามที่ผู้กำกับต้องการ ดูแลการเซ็ตฉาก Prop ให้เป็นไปตามที่ผู้กำกับบอก เช็คดูว่ากล้อง ไฟ เสียง พร้อมไหม การถ่ายทำเป็นไปตามแผนที่วางไว้ไหม ผู้กำกับต้องช่วยให้การถ่ายทำเป็นไปตามตารางเวลา ไม่เกินกำหนด ช่วยผู้กำกับในการโยกย้ายตารางการถ่ายทำให้เหมาะสมกับสถานการณ์ หากมีปัญหาอะไรในเบื้องต้นที่สามารถแก้ไขได้ก็ต้องแก้ไขในระดับหนึ่ง ก่อนที่จะถึงมือผู้กำกับ เรียกได้ว่าเป็นมือเป็นเท้าของผู้กำกับเลยล่ะค่ะ แล้วผู้ช่วยผู้กำกับ 1 จะมีอำนาจมากกว่า ผู้ช่วยฯ 2 มากกว่าผู้ช่วยฯ 3 ซึ่งผู้ช่วยฯ แต่ละคนก็จะมีหน้าที่แตกต่างกันไปค่ะ


...Continuity Person = ผู้ควบคุมความต่อเนื่อง สำคัญมากเหมือนกัน คือ ในการถ่ายทำหนังนั้น ไม่ได้ถ่ายทำไปตามลำดับเวลาในหนังจริง ๆ วันหนึ่ง ๆ อาจถ่ายหลายฉาก และฉากหนึ่ง ๆ อาจถ่ายหลายวัน เพราะฉะนั้น ผู้ควบคุมความต่อเนื่องต้องคอยจดบันทึก รวมถึงถ่ายภาพเก็บไว้ ว่าภาพที่เกิดขึ้นในแต่ละช็อตแต่ละฉากเป็นอย่างไร เช่น การแต่งตัวแต่งหน้าของนักแสดง Prop ที่อยู่ในฉาก นักแสดงประกอบมีกี่คน ใครบ้าง ยืนอยู่ตรงไหน คือภาพต่าง ๆ ที่อยู่ในเฟรมเนี่ย ต้องจดจำเอาไว้ให้ได้ เพื่อที่ว่าเมื่อกลับมาถ่ายฉากเดิมในวันอื่น ก็จะสามารถถ่ายได้เหมือนเดิม อารมณ์ต่อเนื่อง ไม่สะดุด ไม่ให้คนดูจับผิดได้ไงคะ


...Film Loader = ก็คือคนที่ทำหน้าที่เตรียมฟิล์ม และเปลี่ยนม้วนฟิล์มที่ใช้ถ่ายทำ เวลาฟิล์มหมดอะค่ะ ซึ่งจะมี Reporter ทำหน้าที่คอยจดเวลาที่ใช้ไปในฟิล์มแต่ละม้วน ว่าถ่ายอะไรไปบ้าง และ Reporter ก็จะคอยดูค่ะว่าฟิล์มใกล้หมดม้วนรึยัง ความยาวของฟิล์มเพียงพอที่จะใช้ถ่ายทำในช็อตต่อไปหรือเปล่า เพราะถ้าเกิดกำลังถ่ายทำอยู่ โห...เป็นฉากที่เน้นอารมณ์เลย นางเอกกำลังร้องไห้ อินกับบทบาทสุด ๆ ฟิล์มเกิดหมดขึ้นมา คนที่ซวยก็คือ Reporter นี่แหละค่ะ มีความผิดโทษฐานที่ปล่อยให้ฟิล์มหมดม้วน

...Steadicam Operator = เป็นตากล้องคนหนึ่งแหละค่ะ เพียงแต่ว่ากล้องที่ถ่ายเป็นกล้องพิเศษที่เรียกว่า Steadicam คือ กล้องที่จะเซ็ตไว้ให้ติดกับตัวตากล้องเลย แล้วตากล้องจะเดินถือกล้องนี้ถ่ายไปด้วย เรียกว่ากระเตงน่าจะถูก เพราะว่ากล้องจะถูกยึดติดกับตากล้อง เหมือนเวลาที่คุณแม่เอาลูกใส่กระเป๋าแล้วผูกกับเอวเลยล่ะค่ะ ซึ่งตากล้องที่จะถ่ายกล้อง Steadicam ได้เนี่ยต้องแข็งแรงและเชี่ยวชาญมาก ๆ ในเมืองไทยมีคนที่ถ่ายได้น้อยมากค่ะ เท่าที่ทราบมามีคนเดียวเท่านั้นค่ะ


...Production Sound Mixer = ก็ตรงตัวนะคะ คือ คนที่ทำหน้าที่ Mix หรือผสมเสียงนั่นแหละค่ะ เพราะว่าในการถ่ายทำ เค้าจะถ่ายแยกเสียงเป็นช่องต่าง ๆ มีเส้นเสียงพูดของนักแสดงแต่ละคน เส้นเสียงบรรยากาศ แล้วก็ยังต้องมีการใส่ Special Effect เข้าไปอีก คน Mix เสียง ก็คือคนที่จับเอาเสียงพวกนี้มาผสมกันให้ได้อย่างกลมกลืนและสมจริงค่ะ

...Boom Operator = Boom ในที่นี้ก็คือ ไมค์บูมค่ะ เป็นไมค์ที่มีประสิทธิภาพในการเก็บเสียงมาก สังเกตได้จากเบื้องหลังการถ่ายทำหนังเรื่องต่าง ๆ คุณอาจจะเคยเห็นไมค์ที่ด้ามยาว ๆ ตรงหัวไมค์มีขน ๆ ส่วนใหญ่จะสีเทา ๆ เหมือนไม้ถูพื้น นั่นแหละค่ะ ไมค์บูมล่ะ

...Key Grip = น่าจะเกี่ยวกับการจัดการเรื่องอุปกรณ์ไฟนะคะ

...Dolly Grip = อันนี้ก็เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ประกอบเป็นรางดอลลี่อะค่ะ คือรางที่หน้าตาเหมือนรางรถไฟ ที่ตากล้องจะเอากล้องไปตั้ง แล้วขึ้นไปนั่งบนรางดอลลี่ แล้วเวลาถ่ายก็จะเลื่อนกล้องไปตามรางนี้ค่ะ จะทำให้ได้ภาพที่เคลื่อนไหวแบบนิ่งมาก ๆ

...Music Mixer = คิดว่าน่าจะคล้าย ๆ กับ Sound Mixer นะคะ แต่ว่า Mix เสียงที่เป็นเสียงเพลง และดนตรีประกอบอะค่ะ

...Visual Effects Director = ก็กำกับดูแลด้าน Effect ทางด้านภาพอะค่ะ

...FX Coordinator = FX ก็น่าจะหมายถึง Effect ค่ะ

...Post-Production Supervisor = ก็คือผู้ควบคุมดูแลงานด้าน Post-production คือ งานหลังจากการถ่ายทำเสร็จแล้ว นั่นก็คือ การตัดต่อ การพากย์เสียง การผสมเสียง การทำ Visual Effect/Special Effect ต่าง ๆ อะไรประมาณเนี้ยอะค่ะ

...Location Manager = เป็นคนที่จัดการเกี่ยวกับสถานที่ถ่ายทำทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการหาสถานที่ถ่ายทำ การวางแผนเกี่ยวกับสถานที่ถ่ายทำ เช่น สมมติว่าได้สถานที่ถ่ายทำฉากนี้แล้ว ก็ต้องดูว่าตรงไหนจะเป็นที่ถ่ายทำ ตรงไหนจะเป็นที่พักทานข้าว ที่แต่งหน้าทำผม จะเข้าห้องน้ำตรงไหน นักแสดงพักตรงไหน รถจะจอดตรงไหน การเดินทางไปสถานที่ถ่ายทำเดินทางด้วยวิธีไหน ดูเรื่องค่าใช้จ่ายในการเช่าสถานที่ถ่ายทำ ก่อนถ่ายทำต้องขออนุญาตตำรวจหรือไม่ ต้องขออนุญาตใช้เสียงหรือไม่ ฝ่ายฉากจะเข้าไปเซ็ตได้เมื่อไหร่ คือ ดูแลเรื่องสถานที่ถ่ายทำทั้งหมด ต้องทำงานประสานงานกับผู้จัดการกองถ่ายตลอดเวลา รวมถึงประสานงานกับผู้ช่วยผู้กำกับขณะถ่ายทำ และประสานงานกับฝ่ายฉากในตอนเซ็ตฉากด้วย เป็นอีกหน้าที่หนึ่งที่ค่อนข้างยิบย่อยค่ะ ส่วนสถานที่ถ่ายทำถ้าหากสถานที่เดียวสามารถถ่ายได้หลาย ๆ ฉากจะดีมาก หรือไม่ก็เป็นสถานที่ที่อยู่ใกล้เคียงกัน จะได้ไม่เสียเวลาในการเดินทาง

...Property Master = Property ก็คือ Prop หรืออุปกรณ์ประกอบฉากนั่นเองค่ะ ก็คือ ดูแลเรื่องการหาอุปกรณ์ประกอบฉาก ซึ่งบางครั้งก็ต้องซื้อ เช่า หรือทำขึ้นมาใหม่

...Set Designer = ตรงตัวค่ะ ออกแบบฉาก...Set Dresser = น่าจะเป็นคนที่ทำหน้าที่สร้างสรรค์ ตกแต่งฉากให้เป็นไปตามที่ออกแบบไว้นะคะ

...Costume Designer = คือผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายของนักแสดงค่ะ คือ แค่ออกแบบ ไม่ต้องลงไปจัดหาหรือว่าแต่งตัวให้นักแสดงเองก็ได้ แต่ต้องควบคุมดูแลให้การแต่งกายของนักแสดงออกมากแล้วเป็นไปตามที่ออกแบบไว้ ตามโจทย์ที่ผู้กำกับต้องการ...Costumer = คือ คนที่คอยจัดหาเสื้อผ้านักแสดง แต่งตัวให้นักแสดง ให้เป็นไปตามที่ Designer ออกแบบไว้ค่ะ

...Make-up Artist = ก็คือช่างแต่งหน้านักแสดงค่ะ

...Body Make-up Artist = ก็คล้าย ๆ ช่างแต่งหน้า แต่คราวนี้เป็นตบแต่งที่ร่างกายของนักแสดงค่ะ เพราะบางทีนักแสดงก็ต้องทาตัวดำ หรือว่าเติมแผล เติมร่องรอยต่าง ๆ นะคะ

...Hairdresser = ก็ที่เรียกกันว่าช่างทำผมนั่นแหละค่ะ

...Second Unit Director = ในบางครั้ง การถ่ายทำบางฉากก็ยิ่งใหญ่มาก มีการลงทุนสูง และถ่ายทำหลาย ๆ เทคไม่ได้ เช่น ฉากระเบิดใหญ่ ๆ ฉากสงครามต่าง ๆ ทำให้ต้องมีกล้องถ่ายภาพยนตร์หลายตัว ซึ่ง Second Unit Director ก็คือคนที่ทำหน้าที่ผู้กำกับในจุดถ่ายทำอีกจุดหนึ่ง หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า ผู้กำกับกล้อง 2 ค่ะ ก็ทำหน้าที่เหมือนผู้กำกับแหละค่ะ แต่ว่าดูแลการถ่ายทำของอีกกล้องหนึ่ง บางทีก็มีกล้อง 3 กล้อง 4 กล้อง 5 ด้วยล่ะค่ะ

...Transportation Coordinator = ก็น่าจะหมายถึงผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเดินทางของกองถ่าย การย้ายสถานที่ถ่ายทำ การขนข้าวขนของมากองถ่าย รถไฟ รถน้ำ รถสร้างพายุ รถตู้นักแสดง รถผู้กำกับ รถทีมงาน อะไรประมาณนี้ล่ะมังคะ แต่ว่าส่วนใหญ่ที่เห็นในกองถ่ายหนังไทย หน้าที่นี้จะอยู่ในส่วนของผู้จัดการกองถ่ายค่ะ

...เท่าที่ทราบหรือพอจะเดา ๆ เอาได้ ก็มีอยู่เท่านี้ล่ะค่ะ ถ้ามีผิดพลาดยังไงก็ต้องขออภัยด้วยนะคะ


เดี๋ยวเราช่วยเพื่มเติมให้นะ

...CASTING หรือ ผู้คัดเลือกนักแสดง มีหน้าที่ คัดเลือกนักแสดงนำและจัดหาตัวประกอบ คนทำหน้าที่ CASTING ควรเป็นคนที่ใจเย็น สามารถพูดจาโน้มน้าวให้คนอื่นคล้อยตามได้ อธิบายเนื้อเรื่องและบุคลิกลักษณะของตัวละครให้กับผู้ที่มาทดสอบได้เข้าใจอย่างชัดเจนตรงกับจุดมุ่งหมายของผู้กำกับ รวมทั้งต้องมีมุมมองและรสนิยมที่ดี

...PRODUCTION DESIGNER หรือผู้ออกแบบงานสร้าง มีหน้าที่ สร้างสรรค์รูปแบบ (STYLE) ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตลอดทั้งเรื่องวางแผนการจัดฉาก มุมกล้อง MOOD &TONE การจัดแสง การใช้สี เสื้อผ้า การแต่งหน้า ทรงผม ต้องควบคุมทุกอย่างโดยปรึกษากับผู้กำกับ เมื่อสรุปรูปแบบของภาพยนตร์ได้แล้วก็จะส่งมอบงานต่อให้กับ ART DIRECTOR นำไปปฏิบัติ

...GAFFER คือ คนจัดแสง ค่ะแก้ไขหน่อยนะคะ Martial Coreographer ที่ถูกต้องเป็น Martial Choreographer ค่ะ

No comments: